โรคมะเร็งปอด รักษาได้ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

มะเร็งปอด (lung cancer) เป็นโรคที่พบมากและเป็นเหตุให้เสียชีวิตสูงมากทั่วโลก เพราะกลไกการเกิดโรคนั้นมักไม่แสดงอาการในช่วงแรกซึ่งกว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวอาการของโรคก็รุนแรงมากแล้ว ทำให้ได้รับการรักษาที่ล่าช้าทำให้อัตราการเสียชีวิตนั้นสูงนั่นเอง โดยมะเร็งปอดนั้นมีอาการโดยทั่วไป คือ ในช่วงเริ่มแรกนั้นโดยส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการเลย แต่อาการจะเริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อมะเร็งเริ่มลุกลามโดยอาการที่สังเกตได้มักจะเป็นอาการไอที่ค่อนข้างเรื้อรัง ปัญหาการหายใจที่ติดขัดหรือมีเสียงดังเนื่องจากปอดได้รับความเสียหาย เสียงแหบแห้ง เหนื่อยง่าย น้ำหนักลดมากอย่างผิดปกติในช่วงเวลาสั้นๆ หรือแม้แต่มีเลือดปนออกมาในขณะที่ไอ ทั้งนี้ยังมีผู้ป่วยบางรายที่อาจมีอาการผิดปกติทางระบบประสาท ยิ่งในกรณีที่มะเร็งมีการลุกลามไปยังไขสันหลัง และสมอง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ผู้ป่วยมักมีอาการแขนขาชา อ่อนแรง กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้ หรือมีอาการปวดในกระดูกร่วมด้วย แต่อย่างไรก็ตามอาการบางประเภทเหล่านี้อาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคมะเร็งปอดก็ได้เช่นกัน แต่อาจเกิดจากโรคอื่นๆ ก็ได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความแน่ใจและชัดเจนการเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อคัดกรองมะเร็งจะช่วยบ่งชี้ได้อย่างแม่นยำที่สุด ซึ่งหากรู้ตัวเร็วการรักษาย่อมมีโอกาสหายและยังรักษาง่ายกว่าการที่จะปล่อยให้โรคมะเร็งเติบโตและลุกลามไปส่วนต่างๆ ของร่างกายจนทำให้การรักษายากยิ่งขึ้นไป

โรคมะเร็งปอด รักษาได้ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

มะเร็งปอด นั้นเป็นโรคที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ

มะเร็งปอดนั้นเป็นโรคที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ หลายปัจจัย โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดมะเร็งปอด โดยหลักๆ มีดังนี้

  1. บุหรี่ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดมากที่สุด เนื่องจากสารพิษหลายๆ ตัวในบุหรี่ เช่น นิโคติน จะส่งผลโดยตรงกับสุขภาพของปอด และเป็นตัวเร่งให้เกิดภาวะมะเร็งปอดได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ก็ยังได้รับความเสี่ยงจากควันบุหรี่ หรือบุหรี่มือสองเช่นกัน และควันบุหรี่เองยังจัดเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ไม่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดด้วย
  2. อายุที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง และมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อยอย่างมีนัยสำคัญ
  3. การได้รับสารพิษ ไอระเหยจากสารระเหยต่างๆ  เช่น จากการทำงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับสารเคมี สารระเหยต่างๆ รวมถึงมลภาวะต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ ไอเสียรถยนต์ สารเคมีต่างๆ ในชีวิตประจำวัน รวมถึงฝุ่นละออง เช่น PM 2.5
  4. มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอดที่เกิดขึ้นเองแม้ผู้ป่วยไม่ได้มีพฤติกรรมเสี่ยงใดๆ เลย เช่น ไม่มีการสูบบุหรี่ ไม่ได้รับมลภาวะใดๆ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  5. การพักผ่อน และความเครียดถือเป็นปัจจัยร่วมที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ และการเคร่งเครียดเป็นประจำจะยิ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้อีกทาง

ส่วนในด้านการรักษามะเร็งปอด สิ่งสำคัญในการรักษามะเร็งปอด

ส่วนในด้านการรักษามะเร็งปอด สิ่งสำคัญในการรักษามะเร็งปอด คือ การตรวจสอบวินิจฉัยถึงระยะของมะเร็งปอด ตำแหน่งที่เกิดโรค การลุกลาม ขนาดของมะเร็ง และที่สำคัญที่สุดคือสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย หากผู้ป่วยมีจิตใจที่เข้มแข็งย่อมช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้น ซึ่งเมื่อประเมินถึงความรุนแรงของมะเร็งปอดแล้ว ขั้นต่อไปจึงเป็นการกำหนดขั้นตอน และวิธีการรักษา โดยวิธีรักษาในทางการแพทย์นั้นในปัจจุบันการรักษามีความก้าวหน้าขึ้นจากเดิมมากๆ ทั้งยังมียาต้านมะเร็งกลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นซึ่งพบว่าสามารถใช้รักษาแล้วได้ผลดี ในปัจจุบันยาที่ใช้ในการรักษามะเร็ง รวมถึงมะเร็งปอดนั้นโดยหลักๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้ 1. ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) ข้อดีคือใช้ได้อย่างหลากหลายและมีหลายเกรดให้เลือก มีความปลอดภัยในการใช้รักษา แต่ข้อเสียที่สำคัญคือ มีผลข้างเคียงค่อนข้างมากเพราะตัวยาเป็นพิษกับเซลล์ปกติ และเซลล์มะเร็ง 2. ยามุ่งเป้า (Targeted therapy) เป็นยาที่มีทั้งแบบรับประทาน หรือฉีด โดยยาตัวนี้มีความจำเพาะเจาะจงกับกลไกการเกิดมะเร็งแบบต่างๆ ทำให้การรักษาด้วยยาแบบมุ่งเป้านั้น เกิดผลค้างเคียงน้อยลงมาก 3. ยาต้านฮอร์โมน (Hormonal Treatment) ใช้กับมะเร็งที่มีกลไกการเกิดโรคจากการถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมน โดยยาชนิดนี้มีผลข้างเคียงน้อยที่สุด ส่วนรูปแบบและขั้นตอนในการรักษานั้น หลักๆ จะประกอบไปด้วย การผ่าตัด การฉายรังสี การให้เคมีบำบัด หรือยาประเภทอื่นๆ แล้วแต่สภาวะของโรค และผู้ป่วย เป็นต้น ทั้งนี้การรักษาต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้พิจารณาเนื่องจากมะเร็งปอดในแต่ละระยะนั้นใช้การรักษาที่ไม่เหมือนกันซะทีเดียว นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงสภาพร่างกายของผู้ป่วยในขณะนั้นด้วยว่าการรักษาด้วยวิธีใดจะให้ผลดีที่สุด และกระทบต่อผู้ป่วยน้อยที่สุดเพราะในการรักษาโรคมะเร็งปอดด้วยวิธีต่างๆ เหล่านี้ย่อมทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ซึ่งตรงจุดนี้ผู้ป่วย และผู้ที่ดูแลผู้ป่วยต้องทำความเข้าใจถึงอาการที่เกิด เช่น อาการหมดแรง อ่อนเพลีย ปวดในทรวงอก หรือแม้แต่เกิดพังผืดในปอด และในระหว่างการรักษาจะต้องมีการตรวจติดตามผลการรักษาเพื่อนำมาประเมินอยู่เสมอ โดยมากมักเป็นการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การซักประวัติต่างๆ การเอกซเรย์ปอด รวมไปถึงการทำ CT scan ร่วมด้วย

sick-man

มะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด 4 ระยะ มีอาการเป็นยังไงบ้าง

มะเร็งปอดโดยหลักๆ แล้วนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ non-small cell lung cancer หรือชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็ก (NSCLC) และอีกชนิด คือ small cell lung cancer หรือชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (SCLC) โดยทั้งสองชนิดนี้จะสามารถแบ่งออกได้อีก 4 ระยะ โดยการรักษาแต่ละระยะจะมีความแตกต่างกันไปเล็กน้อย 

การรักษามะเร็งปอดชนิด NSCLC non-small cell lung cancer หรือชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็ก ช่วงระยะที่ 1-3 ในช่วงระยะนี้การรักษาหลักๆ จะใช้การผ่าตัดร่วมกับการใช้ยาเคมี แต่อย่างไรก็ตามหากผลที่ได้หลังการผ่าตัดไม่ดีขึ้น หรือพบว่ามะเร็งมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง การรักษาจะเพิ่มการฉายรังสีภายหลังจากที่ผ่าตัด โดยการฉายรังสีมีทั้งแบบสามมิติทั่วไป และสามมิติที่สามารถปรับความเข้มของรังสีได้ แต่ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถผ่าตัดได้จะต้องทำการรักษาด้วยวิธีฉายแสงแบบเพื่อเป็นการทดแทนการผ่าตัด ส่วนการรักษามะเร็งปอดช่วงระยะที่ 3 การรักษาหลักจะใช้ยาเคมีในการบำบัดรักษา ร่วมกับการฉายรังสีต่อเนื่องทุกวัน และยังต้องทำการผ่าตัดเพื่อลดขนาดก้อนของเนื้อร้ายให้เล็กลง ส่วนในช่วงระยะที่ 4 การรักษาจะเป็นการรักษาแบบทั่วทั้งร่างกาย หรือ systemic treatment โดยการใช้เคมีบำบัด การรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัด การฉายรังสีเพื่อรักษาให้อาการดีขึ้นตั้งแต่บริเวณทรวงอก รวมถึงตำแหน่งอื่นๆ ที่มะเร็งมีการกระจายตัวไป โดยการฉายรังสีจะต้องทำทุกวันอย่างต่อเนื่อง 

การรักษามะเร็งปอดชนิด SCLC หรือ small cell lung cancer หรือชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ช่วงแรกของการรักษาหรือช่วงระยะที่ 1-3 การรักษาหลักๆ ยังคงเป็นการให้เคมีบำบัด และการฉายแสงวันละ 1-2 ครั้งต่อเนื่องในทุกวัน โดยลักษณะ หรือรูปแบบการฉายแสงจะเหมือนกันกับการรักษามะเร็งชนิด NSCLC non-small cell lung cancer หรือชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็ก ทั้งนี้ในการฉายแสงจะไม่ฉายแสงเพียงบริเวณที่เกิดโรคเท่านั้น แต่จะฉายแสงไปส่วนอื่นๆ ที่สำคัญเพื่อป้องกันการกระจายตัวของมะเร็งด้วยโดยเฉพาะในส่วนของสมอง ส่วนในช่วงระยะที่ 4 การรักษาจะเป็นการรักษาแบบทั่วทั้งร่างกาย หรือ systemic treatment โดยการใช้เคมีบำบัด การรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัดเช่นเดียวกับการรักษามะเร็งชนิด NSCLC non-small cell lung cancer ทั้งนี้การรักษาอื่นๆ เพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นการปรับ หรือลดขนาดของยา หรือปริมาณรวมถึงความถี่และความเข้มข้นของการฉายแสงต้องอยู่ที่การพิจารณาของแพทย์ที่ทำการรักษา โดยพิจารณาจากผลการรักษาตามมาตรฐานดังที่ได้กล่าวในเบื้องต้น ส่วนในรายที่ได้รับการรักษาจนอาการหายจนกลับไปใช้ชีวิตปกติได้แล้วนั้นก็ยังคงต้องหมั่นตรวจติดตามอาการของโรคมะเร็งปอด อยู่เสมอเพื่อเป็นการเฝ้าระวังโรคร้ายไม่ให้กลับมาโดยที่เราไม่รู้ตัว

อ้างอิงจากเว็บไซต์ : https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/

อ่านข่าวต่อ : ข่าว